งานวิจัยในชั้นเรียน

การศึกษาความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนออนไลน์ รายวิชาชีววิทยา
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่
6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560

 

 

รูปแบบงานวิจัย 
         เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ  

ที่มาและความสำคัญ


         ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาชีววิทยา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ครูผู้สอนได้มีการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมผู้เรียนมีทักษะ
ในการใช้เทคโนโลยีโดย ได้ออกแบบการเรียนการสอนโดยอาศัย Google form และจัดรวบรวมไว้ในเวบไซต์นานาไบโอ ดอทคอม ด้วยกันทั้งหมด 5 หัวข้อดังนี้
         1. กิจกรรมการรักษาดุลยภาพอุณหภูมิในร่างกาย

          2. กิจกรรมเรื่องระบบภูมิคุ้มกันและหมู่เลือด

          3. แบบทดสอบหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การรักษาดุลยภาพในร่างกาย

          4. กิจกรรมเรื่องการแบ่งเซลล์

          5. แบบทดสอบ ยีน โครโมโซม DNA และการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม

หลังจากที่ได้จัดการเรียนการสอนที่มีการจัดกิจกรรมบนเครือข่ายออนไลน์ ครูผู้สอนมีเห็นความสำคัญในเรื่องของการศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนออนไลน์ที่ผ่านมาเพื่อนำข้อคิดเห็นของผู้เรียน
มาใช้เพื่อพัฒนาและปรับปรุงระบบต่อไป ขั้นตอนของการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในรายวิชาชีววิทยามีกิจกรรมที่สำคัญดังนี้

          

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

  1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนออนไลน์ผ่านทางเครื่อข่าย Google Form และ เวบไซต์นานาไบโอดอทคอม

ประชากร
      คือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนปทุมราชวงศา อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ

กลุ่มตัวอย่าง
       คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2-6/5 ที่เรียนรายวิชาชีววิทยา ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนปทุมราชวงศา จำนวน 112 คน

เครื่องมือ
       
แบบสอบถามออนไลน์ ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนออนไลน์

วิธีการและขั้นตอน
       
1. ออกแบบแบบสอบถามออนไลน์โดยแบ่งข้อคำถามออกเป็น 4 ส่วน คือ

           ส่วนที่ 1 ด้านเนื้อหาและสาระการเรียนรู้
           ส่วนที่ 2 ตัวอักษรสีและภาพ
           ส่วนที่ 3 ด้านกิจกรรมการเรียนรู้
           ส่วนที่ 4 ด้านการวัดและประเมินผล

        2. ให้ผู้เรียนเข้าตอบแบบสอบถามออนไลน์
         3. ครูรวบรวมข้อมูลจากระบบและวิเคราะห์ผล

     

    ผลที่เกิดขึ้น
    จากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามออนไลน์ได้ข้อมูลทางสถิติในแต่ละด้านดังนี้
    ด้านเนื้อหาและสาระการเรียนรู้


    รายการ

    5

    4

    3

    2

    1

    1. นักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียนผ่านบทเรียนออนไลน์ในภาพรวมระดับใด

    41

    48

    22

    1

    -

    2.ปริมาณเนื้อหาในบทเรียนแต่ละคาบมีความเหมาะสมกับผู้เรียน

    32

    60

    20

    -

    -

    3.ปริมาณเนื้อหาเหมาะสมกับเวลา

    26

    61

    23

    2

    -

    4.ความสะดวกในการใช้งานบทเรียนออนไลน์

    45

    44

    20

    3

    -

    ด้านตัวอักษร สี และภาพ


    รายการ

    5

    4

    3

    2

    1

    1. ขนาด และ สี ตัวอักษร ในบทเรียนออนไลน์มีความเหมาะสม

    49

    43

    20

    -

    -

    2. ขนาดภาพ ประกอบบทเรียนมีความเหมาะสม

    40

    53

    19

    -

    -

    3. ภาพประกอบบทเรียน ชัดเจนเหมาะสมกับเนื้อหา

    45

    47

    18

    2

    -

    ด้านกิจกรรมการเรียนรู้


    รายการ

    5

    4

    3

    2

    1

    1.บทเรียนออนไลน์สามารถเร้าความสนใจของผู้เรียนได้

    32

    54

    25

    1

    -

    2.บทเรียนออนไลน์ช่วยให้นักเรียนอยากเรียนและเข้าร่วมกิจกรรม

    34

    52

    25

    1

    -

    3.การเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์นักยังสามารถทำงานกลุ่มร่วมกับเพื่อนได้

    42

    47

    22

    1

    -

    4. นักเรียนชอบเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์

    39

    41

    30

    1

    1

    5.การเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์สามารถแก้ปัญหาการเรียนการสอนเช่น ห้องเรียนที่ใช้เรียนไม่พร้อมใช้งานเนื่องจากใช้ประกอบกิจกรรมของทางโรงเรียน

    45

    50

    15

    2

    -

     

    ด้านการวัดและประเมินผล


    รายการ

    5

    4

    3

    2

    1

    แบบทดสอบมีความสอดคล้องกับบทเรียน

    39

    57

    14

    1

    1

    แบบทดสอบมีจำนวนข้อคำถามเหมาะสม

    33

    57

    21

    1

    -

    มีความสะดวกรวดเร็วในการรายงานผลคะแนน

    57

    42

    13

    -

    -

    ช่วยแก้ปัญหา การทุจริตในการสอบ ได้

    31

    48

    30

    2

    1

    การแปลความหมายวิเคราะห์โดยใช้เกณฑ์ของ บุญชม  ศรีสะอาด (2541:161)
    คะแนน 4.51-5.00 หมายถึง ระดับความพึงพอใจที่มีมากที่สุด
    คะแนน 3.51-4.50 หมายถึง ระดับความพึงพอใจที่มี มาก
    คะแนน 2.50-3.50 หมายถึง ระดับความพึงพอใจที่มี ปานกลาง
    คะแนน 1.51-2.50 หมายถึง ระดับความพึงพอใจที่มี น้อย
    คะแนน 1.00-1.50 หมายถึง ระดับความพึงพอใจที่มี น้อยที่สุด

     

    ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ได้ผลดังนี้
    ด้านเนื้อหาและสาระการเรียนรู้


    รายการ

    แปลผล

    1. นักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียนผ่านบทเรียนออนไลน์ในภาพรวมระดับใด

    4.04

    ระดับมาก

    2.ปริมาณเนื้อหาในบทเรียนแต่ละคาบมีความเหมาะสมกับผู้เรียน

    4.06

    ระดับมาก

    3.ปริมาณเนื้อหาเหมาะสมกับเวลา

    4.17

    ระดับมาก

    4.ความสะดวกในการใช้งานบทเรียนออนไลน์

    4.03

    ระดับมาก

    ด้านตัวอักษร สี และภาพ


    รายการ

    แปลผล

    1. ขนาด และ สี ตัวอักษร ในบทเรียนออนไลน์มีความเหมาะสม

    4.26

    ระดับมาก

    2. ขนาดภาพ ประกอบบทเรียนมีความเหมาะสม

    4.19

    ระดับมาก

    3. ภาพประกอบบทเรียน ชัดเจนเหมาะสมกับเนื้อหา

    4.21

    ระดับมาก

     

    ด้านกิจกรรมการเรียนรู้


    รายการ

    แปลผล

    1.บทเรียนออนไลน์สามารถเร้าความสนใจของผู้เรียนได้

    4.04

    ระดับมาก

    2.บทเรียนออนไลน์ช่วยให้นักเรียนอยากเรียนและเข้าร่วมกิจกรรม

    4.06

    ระดับมาก

    3.การเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์นักยังสามารถทำงานกลุ่มร่วมกับเพื่อนได้

    4.17

    ระดับมาก

    4. นักเรียนชอบเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์

    4.03

    ระดับมาก

    5.การเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์สามารถแก้ปัญหาการเรียนการสอนเช่น ห้องเรียนที่ใช้เรียนไม่พร้อมใช้งานเนื่องจากใช้ประกอบกิจกรรมของทางโรงเรียน

    4.23

    ระดับมาก

    ด้านการวัดและประเมินผล


    รายการ

    แปลผล

    แบบทดสอบมีความสอดคล้องกับบทเรียน

    4.17

    ระดับมาก

    แบบทดสอบมีจำนวนข้อคำถามเหมาะสม

    4.09

    ระดับมาก

    มีความสะดวกรวดเร็วในการรายงานผลคะแนน

    4.40

    ระดับมาก

    ช่วยแก้ปัญหา การทุจริตในการสอบ ได้

    3.94

    ระดับมาก

     

    สรุปผลการศึกษา
            การวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการศึกษาความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนออนไลน์ รายวิชาชีววิทยาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จากการสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านเนื้อหาและสาระการเรียนรู้ ,ด้านตัวอักษรสีและภาพ ,ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ ,ด้านการวัดและประเมินผล
              ด้านเนื้อหาและสาระการเรียนรู้ มีการสอบถามความพึงพอใจในประเด็นต่างๆดังต่อไปนี้ นักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียนผ่านบทเรียนออนไลน์ในภาพรวมระดับใด,ปริมาณเนื้อหาในบทเรียนแต่ละคาบมีความเหมาะสมกับผู้เรียน ,ปริมาณเนื้อหาเหมาะสมกับเวลา ,ความสะดวกในการใช้งานบทเรียนออนไลน์
    พบว่าความพึงพอใจของนักเรียนในด้านเนื้อหาสาระการเรียนรู้ มีความพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก (=3.51-4.50) เมื่อพิจารณารายละเอียดแต่ละด้าน พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจระดับมากโดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (=4.26) คือ
              ด้านตัวอักษรสีและภาพ มีการสอบถามความพึงพอใจในประเด็นต่างๆดังต่อไปนี้ ขนาด และ สี ตัวอักษร ในบทเรียนออนไลน์มีความเหมาะสม ,ขนาดภาพ ประกอบบทเรียนมีความเหมาะสม ,ภาพประกอบบทเรียน ชัดเจนเหมาะสมกับเนื้อหา พบว่าความพึงพอใจของนักเรียนในด้านตัวอักษรสีและภาพ มีความพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก (=3.51-4.50) เมื่อพิจารณารายละเอียดแต่ละด้าน พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจระดับมากโดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (=4.26) คือขนาด และ สี ตัวอักษร ในบทเรียนออนไลน์มีความเหมาะสม
              ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ มีการสอบถามความพึงพอใจในประเด็นต่างๆดังต่อไปนี้ บทเรียนออนไลน์สามารถเร้าความสนใจของผู้เรียนได้ ,บทเรียนออนไลน์ช่วยให้นักเรียนอยากเรียนและเข้าร่วมกิจกรรม ,การเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์นักยังสามารถทำงานกลุ่มร่วมกับเพื่อนได้,นักเรียนชอบเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ ,
    การเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์สามารถแก้ปัญหาการเรียนการสอนเช่น ห้องเรียนที่ใช้เรียนไม่พร้อมใช้งานเนื่องจากใช้ประกอบกิจกรรมของทางโรงเรียน พบว่าความพึงพอใจของนักเรียนในด้านกิจกรรมการเรียนรู้ มีความพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก (=3.51-4.50) เมื่อพิจารณารายละเอียดแต่ละด้าน พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจระดับมากโดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (=4.17) คือ การเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์นักยังสามารถทำงานกลุ่มร่วมกับเพื่อนได้
              ด้านการวัดและประเมินผล มีการสอบถามความพึงพอใจในประเด็นต่างๆดังต่อไปนี้ แบบทดสอบมีความสอดคล้องกับบทเรียน ,แบบทดสอบมีจำนวนข้อคำถามเหมาะสม ,มีความสะดวกรวดเร็วในการรายงานผลคะแนน,ช่วยแก้ปัญหา การทุจริตในการสอบ ได้ พบว่าความพึงพอใจของนักเรียนในด้านการวัดและประเมินผล มีความพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก (=3.51-4.50) เมื่อพิจารณารายละเอียดแต่ละด้าน พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจระดับมากโดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (=4.40) คือ มีความสะดวกรวดเร็วในการรายงานผลคะแนน

     


ครูนันทนา สำเภา ผู้วิจัย

เผยแพร่วันที่ 25 พฤษภาคม 2561

 
   
 
 

 


กลับหน้าหลัก

 

จัดทำโดย

ครูนันทนา สำเภา โรงเรียนปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ